2

จีเจ๊าะบลาเค๊ะ
เป็นวิชาสายยาวีโบราณ
ว่าด้วยเรื่องพลังงานธรรมชาติ
จิ้งจกร้องครูบาอาจารย์สมัยอดีตบอกว่า
“เวลาจะไปไหนถ้าจิ้งจกทักต้องหยุด”
เพราะถือว่าเป็นสัตว์ที่มีผล
กับพลังงานวิญญาณค่อนข้างสูง
ในเรื่องของการเตือนภัย เตือนสิ่งต่าง ๆ
จิ้งจกร้องบางคนบอกร้องเท่านี้เป็นมงคล
ร้องเท่านี้ไม่เป็นมงคล
จิ้งจกร้องทักไม่ดี
บางคนจิ้งจกหล่นใส่ตัวถึงขั้นชะตาขาดก็มี

ในวิชายาวีโบราณมีวิชาหนึ่งที่เรียกว่า
“จีเจ๊าบลาเค๊ะ”
คือ “จิ้งจกเรียกลาภ”

“ลาภ” ในที่นี้ไม่ใช่เงินทอง แต่คือ
“สิ่งที่คุณอยากได้ทั้งหมด”
บางคนอยากได้คู่ คู่ก็มา
บางคนอยากได้เงิน เงินก็มา
บางคนอยากได้ที่ดิน ที่ดินก็มา
บางคนอยากได้ลูกค้า ลูกค้าก็มา
“มันเรียกในสิ่งที่คุณอยากได้ให้เข้ามาหา”
ลาภในจีเจ๊า คือ สิ่งที่เราอยากได้
แล้วมันก็จะเรียกสิ่งนั้นมา

จีเจ๊าบลาเค๊ะรุ่นแรก
จะออกเป็นเหรียญกลม ๆ
เพราะยุคนั้นคนอยากได้เงิน
จึงทำเป็นกลม ๆ รูปเงิน
และมีจิ้งจกอยู่ข้างใน (ประมาณเหรียญสิบ)
ใหญ่และหนา ไม่รันเลข

จีเจ๊าบลาเค๊ะรุ่นนี้
อยู่ในรูปลักษณ์ที่ใช้ “เคล็ด” เต็มที่
ตัวจีเจ๊าจะเห็น
ลูกตา 2 ข้าง ลืมตาชัดเจน
อ้าปาก (เคล็ดคือลืมตาอ้าปาก)
ใครพกไว้ก็สามารถลืมตาอ้าปากได้
ที่หาง ตวัดดาวกับเดือนเอาไว้
คนโบราณจะบอกว่า
“เว้นดาวกับเดือน” อย่างอื่นได้หมด
แต่จีเจ๊าะรุ่นนี้แม้แต่ดาวกับเดือน
หางก็ตวัดเอากลับมาได้

สัญลักษณ์ของพวกยาวีโบราณ
ที่แทนด้วยพลังงานธรรมชาติ
ก็คือ ดาวกับเดือน สายยาวีโบราณ
เขาจะนับถือพระจันทร์
ว่าด้วยเรื่องดาวและเดือน
ถ้าว่าด้วยเคล็ด ดาวกับเดือน
ก็ตวัดลงมาได้
(อันนี้ว่าด้วยเรื่องของรูปลักษณ์)

ด้วยเป็นวัตถุมงคลในตำนาน
ที่กลับมามีชีวิตอีกรอบของมันตระสยาม
จึงใส่เคล็ดได้เต็มที่

พุทธคุณ
จีเจ๊าจะมีพลังงานชีวิต
ถ้าเราพก จิ้งจกร้องจะดี
พกสูงพกต่ำได้ ทำเป็นพวงกุญแจได้

จีเจ๊าะ รุ่นนี้ ทำออกมา 2 เนื้อ คือ
เนื้อนวโลหะมาหชนวน
และเนื้อทองสัตตะโลหะ
สีเหลือง เป็นเนื้อทองสัตตะโลหะ
สีฟ้า เป็นเนื้อนวโลหะมหาชนวน
ตอกเลข ตอกโค้ดใต้ท้อง
(แยกเลขแยกโค้ดแต่ละเนื้อ)

เนื้อนวะโลหะมหาชนวน
ถ้าใส่ไปนาน ๆ จะกลับดำ
เพราะผสมทองคำเยอะมาก
เนื้อทองสัตตะโลหะ
ถ้าใส่ไปนาน ๆ จะเขียว เหมือนสัมฤทธิ์
(วันหน้าจะแยกไม่ได้ว่าเนื้ออะไร
แต่จะแยกได้ว่าโค้ดอะไร)

จีเจ๊าวันนี้
ทำให้โดนใจทั้งคนเก่าและคนใหม่
คนเก่าติดรูปลักษณ์ของเนื้อทองสัตตะโลหะ
(เป็นการเล่นแร่แปรธาตุ)
ทองสัตตะโลหะ ไปโดนความร้อน
เนื้อจะออกแดง
แต่ถ้าเอาที่ร้อน ๆ ไปจุ่มน้ำเย็น
จะกลับมาเป็นสีเหลืองทอง
จึงถูกเรียกว่าทองสัตตะโลหะ
มีส่วนผสมของทอง 7 ชนิด
หล่อมาแล้วเนื้อจะออกมาเป็นสีทองแดง
แต่ถ้าไปเผาไฟให้ร้อนจุ่มน้ำเย็น
จะออกมาเป็นสีเหมือนทองคำ
(แต่ไม่ใช่ทองคำ)
ความยากของทองสัตตะโลหะคือ
หาของโบราณมาทำได้ยาก

ปัจจุบัน มีเนื้อนวะโลหะมหาชนวน
ผสมเอาไว้ในการสร้างวัตถุมงคลทุกรุ่น
เนื้อรวบรวมชนวนมวลสารจากสายภาคใต้
ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก
ภาคตะวันออก จนถึงเขมร เทวลัย
ลึกลงไปจนถึงขอมบายนก็มี
เอามารวมกันหมด

ปัจจุบันอาจารย์ยังซื้อโลหะ
ที่สามารถนำมาทำสูตรเนื้อนวะโบราณได้
ไม่ว่าจะเป็นเทวรูป
ไม่ว่าจะเป็นพระบูชาแตกหักโบราณ
ทองคำสัมฤทธิ์ ทองคำโบราณ เนื้อชินตะกั่ว
และนำมาหลอมรวมกันและทำเป็นแท่ง

เนื้อนวะโลหะอาจารย์แขก
มาจากโลหะ 5 สมัย
คือ เบญจโลหะ ยุคทวารวดี สุโขทัย
ลพบุรี อยุธยา ธนบุรี

นวะโลหะมหาชนวน
นวะ แปลว่า 9 อย่าง
มหาชนวน คือ ไล่มาจากทวารวดี
สุโขทัย ลพบุรี อยุธยา ธนบุรี จนถึงปัจจุบัน

เหรียญหล่อแรกที่อาจารย์แขกทำ
ที่บางมาก คือหลวงพ่ออินทร์ วัดบุปผาราม

เนื้อนวะโลหะ บูชา 2,000 บาท
เนื้อทองสัตตะโลหะ บูชา 5,000 บาท